Pages

Thursday, May 2, 2024

วิธี อ่านกราฟหุ้น สำหรับมือใหม่ ต้องทำยังไง ?

วิธี อ่านกราฟหุ้น สำหรับมือใหม่ ต้องทำยังไง ?

วันนี้พี่ทุยมีวิธีการ อ่านกราฟหุ้น สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ลงทุนในหุ้นมาฝาก แน่นอนว่าในสไตล์ของ Money Buffalo นั้น พี่ทุยจะสรุปให้ฟังกันแบบเข้าใจง่าย ๆ กันอย่างแน่นอน

วิธีดูกราฟหุ้นขาขึ้น

อ่านกราฟหุ้น ยังไง ถึงรู้ว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น ?

การดูแนวโน้มขาขึ้นตามหลักพื้นฐานของ Technical Analysis คือ เมื่อราคาทำ Higher High (HH) และ Higher Low (HL) จะเป็นช่วงแนวโน้มขาขึ้น และอีกวิธีที่พี่ทุยชอบใช้เลย คือ การใช้เส้น EMA ที่ย่อมาจาก Exponential Moving Average ซึ่งก็คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล เป็นการมองความสัมพันธ์ของราคาหุ้นย้อนหลังแบบถ่วงน้ำหนักในรูปแบบของเลขชี้กำลังโดยให้ความสำคัญกับราคาสุดท้ายมากที่สุด เส้นค่าเฉลี่ยจึงตอบสนองการเคลื่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เร็ว

ส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนมักใช้สูตรการคำนวณ EMA ที่มีการคำนวณ Period ราคาย้อนหลังแตกต่างกันหลายแบบ เช่น

  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นระยะสั้น
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 25 วัน (5 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นระยะสั้น ถึง ระยะกลาง
  • ส่วนค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 75 วัน (15 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นระยะกลาง
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (40 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นระยะยาว

ในการดูแนวโน้ม จะใช้เส้น EMA 2 เส้นมาเปรียบเทียบกัน

จากตัวอย่าง พี่ทุยใช้เส้น EMA 15 วัน และ 50 วันมาเปรียบเทียบกัน โดยกำหนดให้เส้นสีเหลืองเป็นเส้น EMA ระยะสั้น 15 วัน และ เส้นสีม่วงเป็นเส้น EMA ระยะยาว 50 วัน

จะเห็นได้ว่า จุดที่เส้น EMA ระยะสั้นตัดขึ้นเหนือเส้น EMA ระยะยาว จะเป็นจุดที่ราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนจากขาลงเป็นแนวโน้มขาขึ้น

วิธีการดูกราฟหุ้นขาลง

อ่านกราฟหุ้น ยังไง ถึงรู้ว่าเป็นแนวโน้มขาลง ?

ในการดูแนวโน้มขาลงจะใช้วิธีคล้าย ๆ กับขาขึ้น โดยดูจากเมื่อราคาทำ Lower High (LH) และ Lower Low (LL) จะเป็นช่วงแนวโน้มขาลงตามตัวอย่างที่พี่ทุยยกมาประกอบเลย และอีกวิธีคือการใช้เส้น EMA 2 เส้นมาเปรียบเทียบกัน

จากตัวอย่าง พี่ทุยใช้เส้น EMA 15 วัน และ 50 วันมาเปรียบเทียบกัน โดยกำหนดให้เส้นสีเหลืองเป็นเส้น EMA ระยะสั้น 15 วัน และ เส้นสีม่วงเป็นเส้น EMA ระยะยาว 50 วัน

จะเห็นได้ว่า จุดที่เส้น EMA ระยะสั้นตัดลงต่ำกว่าเส้น EMA ระยะยาว จะเป็นจุดที่ราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนจากขาขึ้นเป็นแนวโน้มขาลง

Wednesday, April 17, 2024

ทดสอบ Heading

<h1> Major Heading

<h2> Heading

<h3> Subheading

<h4> Miner Heading

<p> Paragraph 1

<p> Paragraph 2

<div> Normal 1
<div> Normal 2

Thursday, March 7, 2024

3 สูตรน้ำยำเงินล้าน! พื้นฐานความอร่อยรสเด็ด ต่อยอดได้หลายเมนู

แจกสูตรน้ำยำเงินล้าน แกะรอยความอร่อยร้านดังพร้อมโกยกำไร

อร่อยเด็ดเจ็ดย่านน้ำ แถมสร้างรายได้แบบไม่พัก! นิยามนี้ต้องมอบให้แก่ “เมนูสารพัดยำ” ที่กอบโกยกำไรจากกลุ่มลูกค้าสายอาหารรสแซ่บ ด้วยความนัวของรสชาติที่กลมกล่อม จึงไม่แปลกที่เมนูยำกลายเป็นกระแสฮิตติดลมบน วันนี้มิตรผลเลยอดใจไม่ไหว ต้องขอหยิบสูตรน้ำยำเงินล้านมาบอกต่อ จะทำกินเองที่บ้านก็ดี จะทำขายก็ปังแน่นอน

“น้ำตาลเคี่ยว” เคล็ดลับความอร่อยของทุกสูตรน้ำยำ

ภายใต้ความอร่อยสูตรเด็ดของน้ำยำพื้นฐาน รู้ไหมว่ารสชาติกลมกล่อมนั้นมาจาก “น้ำตาลเคี่ยว” ที่ปรุงรสหวานเค็มได้อย่างสมดุล โดยทั่วไปจะใช้น้ำตาลโตนด แต่สูตรนี้จะใช้น้ำเชื่อมเข้มข้น ตรามิตรผล ตัวช่วยลดระยะเวลาการเคี่ยว พร้อมปรุงรสได้อย่างกลมกล่อม หวานแบบคงที่  ด้วยสัดส่วนมาตรฐานที่สามารถวัดตวงได้จากการตักผสมนั่นเอง

ส่วนผสม: น้ำตาลเคี่ยว

  • น้ำเชื่อมเข้มข้น ตรามิตรผล 300 กรัม
  • น้ำมะขามเปียก 3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำกระเทียมดอง 50 มิลลิลิตร
  • น้ำปลา 5 ช้อนโต๊ะ

3 สูตรน้ำยำพื้นฐาน : แกะรอยความอร่อยจากร้านดัง!

ใครก็รู้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ติดทานอาหารรสจัดจ้าน เปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน กลมกล่อมแบบลงตัว ซึ่งอาหารประเภท “ยำ” ก็จัดได้ว่าเป็นเมนูที่มีครบทุกความอร่อยที่คนไทยมองหา แถมยังมีความหลากหลาย พลิกแพลงใส่วัตถุดิบได้ตามความต้องการได้อย่างลงตัว นี่คือเสน่ห์ของอาหารจานยำอย่างแท้จริง

แต่กระแสฟีเวอร์ที่ทำให้คนหันมาทานยำกันทั่วไทยก็ไม่ได้มาจากความชอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สูตรน้ำยำที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครของแต่ละร้านดังก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ตรึงใจให้ลูกค้ากลับมาทานซ้ำ แถมยังบอกต่อ และนี่คือ 3 สูตรน้ำยำพื้นฐานที่เราแกะรอยความอร่อยมาฝาก ทั้งยังปรับสูตรให้ง่ายขึ้นด้วยการใช้น้ำตาลเคี่ยวสูตรลัดจาก น้ำเชื่อมเข้มข้น ตรามิตรผล 

สูตร 1 : น้ำยำใส

ยำวุ้นเส่นกุ้งสด

น้ำยำที่คุ้นเคยด้วยรสชาติที่เข้าถึงง่าย ไม่ซับซ้อน “เค็ม หวาน เปรี้ยว เผ็ด” ถือเป็นนิยามความอร่อยของสูตรน้ำยำแบบใสที่สามารถเข้ากันได้กับทุกวัตถุดิบ

ส่วนผสม: น้ำยำใส (สำหรับ 1 ที่)

  • พริกจินดาแดงซอย 8 เม็ด
  • น้ำตาลเคี่ยว ½ ช้อนชา
  • น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ: น้ำยำใส (สำหรับ 1 ที่)

  • นำน้ำตาลเคี่ยวสูตรลัดที่ทำไว้ ตักใส่ลงในชามผสม ตามด้วยน้ำปลา และน้ำมะนาว คนผสมให้เข้ากัน
  • ใส่พริกจินดาแดงซอยลงไปในชาม คนให้เข้ากันก็เป็นอันเสร็จ พร้อมนำไปใช้ปรุงวัตถุดิบได้ทันที
เมนูที่นิยม : ยำวุ้นเส้น ยำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยำคะน้า ยำลูกชิ้น ยำรวมมิตร

วิธี อ่านกราฟหุ้น สำหรับมือใหม่ ต้องทำยังไง ?

วิธี อ่านกราฟหุ้น สำหรับมือใหม่ ต้องทำยังไง ? วันนี้พี่ทุยมีวิธีการ อ่านกราฟหุ้น สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ลงทุนในหุ้นมาฝาก แน่นอนว่าในสไตล์ขอ...